วิทยุในประเทศไทย

วิทยุในประเทศไทย

วิทยุโทรเลข ถูกนำเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 ตรงกับปลาย รัชกาลที่ 5 โดยห้างบีกริม ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทวิทยุโทรเลขเทเลฟุงเกน ประเทศเยอรมัน ทำการทดลอง ส่งระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเกาะสีชัง

พ.ศ. 2456 สมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงในพระนครแห่งหนึ่ง และที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2469 ได้โอนกิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่งให้กรมไปรษณีโทรเลข และต่อมางานวิทยุโทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

วิทยุกระจายเสียง

เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยการเริ่มทดลองส่งของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพานิชย์ และการคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 7 ตั้งสถานี 4 พีเจ (4PJ) ขึ้นอยู่ในความดูแลของกองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่การกระจายเสียงจำกัดอยู่ในหมู่เจ้านาย ข้าราชการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2472 จึงตั้งสถานีวิทยุแห่งใหม่ขึ้นที่วังพญาไท กระจายเสียงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ซึ่งถือว่าเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของประเทศไทย

พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. 2482 รัฐบาลตั้งสำนักงานโฆษณาการขึ้นและโอนสถานีวิทยุต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ (ภายหลังเปลี่ยนกรมโฆษณาการ และเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า "สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย" หลังจากนั้นวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนาแพร่หลายมาเป็นลำดับ (อนันต์ธนา อังกินันทน์ 2532 : 9-16)
คุณค่าของวิทยุกระจายเสียง

ที่มา... http://region4.prd.go.th/techno_it/index.php?option=com_content&view=article&id=42:2009-12-21-07-38-08&catid=54:2009-12-14-06-28-10&Itemid=13

ความคิดเห็น
จนถึงปัจจุบัน วิทยุกระจายเสียงมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงมาตามลำดับ ดังนั้นหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายร่วมกัน คือประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญแล้ว กิจการวิทยุกระจายเสียงจะเจริญก้าวหน้า เพิ่มพูนคุณประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้สังคมไทยได้ตลอดไป