วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิทยุกระจายเสียง

ความหมายของวิทยุกระจายเสียง
ระบบวิทยุก็คือ การส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างจุดสองจุดที่ไม่มีสายตัวนำต่อ เชื่อมกัน การส่งสัญญาณข้อมูลโดยคลื่นวิทยุนั้นจำเป็นจะต้องใช้ตัวพา (Carrier) โดยที่สัญญาณข้อมูลจะ ขี่บนตัวพาไป ตัวพามักจะใช้สัญญาณรูปไซน์ (sinusoidal signal) ซึ่งเขียนได้เป็น Asin (๒(...)ft + ๐) โดยที่ A คือ แอมปลิจูดบอกถึงความแรงของสัญญาณ f เป็นความถี่ และ ๐ คือ เฟส (phase) ขบวนการที่ทำให้ ข้อมูลขี่บนตัวพานั้นเรียกว่า มอดดูเลชั่น (modulation) หรือการมอดดูเลต ซึ่งกระทำได้สามวิธีคือ มอดดูเลชั่นบนแอมปลิจูด (Amplitude Modulation) หรือเอเอ็ม (AM) มอดดูเลชั่นบนความถี่ (Frequency Modulation) หรือเอฟเอ็ม (FM) และมอดดูเลชั่นบนเฟส (Phase Modulation) หรือพีเอ็ม (PM) ในระบบ เอเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่บนแอมปลิจูดของตัวพา กล่าวคือ แอมปลิจูดของตัวพาจะมีค่าเปลี่ยนไปตามค่า ของสัญญาณข้อมูลและในระบบเอฟเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่ไปบนความถี่ของตัวพา กล่าวคือ ความถี่ของตัว พาจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูล ส่วนระบบพีเอ็มนั้นเฟสของตัวพาจะแปรเปลี่ยนตามค่าของ สัญญาณข้อมูล ระบบเอฟเอ็มและพีเอ็มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความถี่และเฟสมีความเกี่ยว ข้องกัน สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จะใช้ความถี่ของตัวพาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกัน เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศว่ากระจายเสียงด้วยความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ หมายความว่า ตัวพานั้นใช้ความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ วิทยุกระจายเสียงปัจจุบันจะเป็นแบบ เอเอ็มหรือเอฟเอ็ม

คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” (Radio Broadcasting) เป็นคำที่ใช้กันมาเป็นเวลานาน โดยจัดว่าเป็นสื่อมวลชนที่มีกำเนิดในโลกด้วยการค้นคว้าทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการค้นคว้าทดลองนั้นไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม มิใช่อุบัติขึ้นในโลกด้วยเหตุบังเอิญไปพบเข้าเหมือนการค้นพบทางวิทยาศาสตร์บางอย่าง

คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” เดิมทีเดียวเรายังไม่มีคำใช้เรียกกันเป็นภาษาไทยจอมพลเรือ กรมพระยานครสวรรค์วรพินิต ทรงใช้วิธีเรียกทับศัพท์ว่า “Radio Telegraph” ว่า “ราดิโอโทรเลข” ต่อมาภายหลังสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติใช้คำว่า “วิทยุ” แทนคำว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสถานจึงได้ให้ใช้คำเต็มๆ เป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Radio Broadcasting” นั่นเอง สำหรับคำว่า “ราดิโอ” มีความหมายว่า “วิทยุ” ซึ่งในศัพทานุกรมสื่อสารมวลชนได้ให้ความหมายไว้ว่า “การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” (Electromagnetic wave)หรือคลื่นวิทยุเพื่อส่งออกอากาศ (transmit) หรือเพื่อรับสัญญาณไฟฟ้า (electrocal singnals) โดยไม่ต้องใช้สายต่อเชื่อมระหว่างกัน (wireless) ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบของโทรคมนาคมซึ่งสื่อสารกันทางวิทยุนั้นมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ต้องมีเครื่องส่ง (antenna) เพื่อส่งสัญญาณพลังงานให้แพร่ออกไปไกลๆ มีตัวพาหะในการแพร่กระจายพลังงานสัญญาณ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศและมีเครื่องรับ (เอกสารประวัติความเป็นมาของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. 2540 : 3)





ความคิดเห็น: วิทยุกระจายเสียงเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสาร วิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคุลมได้กว้างไกลและทั่วทุกพื้นที่ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนมาโดยตลอดตราบจนปัจจุบัน